ความชุกของคนไข้กลุ่ม GD .. ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนทุกวันนี้ เราคงสังเกตเห็นคนที่เป็น GD ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของเราอยู่แล้ว ในยุคปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้วมาอย่างมากเนื่องจากความยอมรับของสังคมและความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถที่จะศึกษาและสามารถเข้าใจถึงความเป็นอยู่และเป็นไปของภาวะ GD นี้อย่างละเอียดและนำเสนอแนวทางรักษาคนไข้กลุ่มนี้ได้อย่างเป็นแนวทางมาตรฐานโลกภาพพจน์ของคนไข้กลุ่มนี้ในอดีต มักจะถูกมองด้วยสายตาที่ดูถูก มีความผิดปกติทางจิต เป็นบุคคลสกปรกน่ารังเกียจด้อยการศึกษา และเป็นกลุ่มคนที่ไม่ควรข้องแวะแต่ปัจจุบันนี้ ความคิดเหล่านั้นค่อยๆ หายไปทีละน้อย และบุคคลเหล่านั้นก็มีที่ยืนในสังคมสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วๆ ไปได้มากขึ้นสามารถร่วมเรียนหนังสือ ทำกิจกรรมต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันในบริษัท สถาบันต่างๆได้ด้วยการยอมรับ และเข้าใจมากขึ้น เมื่อประเมินจำนวนจากประชากรเท่าที่มีการรวบรวมจากรายงานต่างประเทศและประเทศใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์ เราพอสรุปตัวเลขได้ว่า จำนวนคนที่เป็น GD นั้นจะมีจำนวนคร่าวๆ ประมาณ 1:10000 สำหรับ กลุ่ม MTF (เกิดเป็นชาย ใจเป็นหญิง) และ 1:30000 สำหรับกลุ่ม FTM (เกิดเป็นหญิง ใจเป็นชาย) ซึ่งหากลองคำนวณคร่าวๆ ในประเทศไทยจะมีคนที่เป็นภาวะชายใจหญิงประมาณถึง 70,000 คนและเป็นภาวะหญิงใจชายถึง 20,000 คน นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว และหนึ่งในคนกลุ่มนี้ก็อาจจะเดินปะปน ใช้ชีวิตอยู่ข้างๆ เราอยู่แล้วในชีวิตจริงเช่นกัน
การรักษาคนไข้ GD มีแนวทางเป็นมาตรฐานโลก มั่วไม่ได้.. ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีแนวทางการรักษาและวินิจฉัยคนไข้กลุ่ม GD นี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตมีการรักษาผ่าตัดแปลงเพศในคนไข้ที่ไม่ได้เป็น GD ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีแนวทางในการวินิจฉัยที่รัดกุมเพียงพอ คนไข้ได้รับการรักษาครบถ้วนแล้ว คือ ตัดอวัยวะออกไปแล้ว สร้างอวัยวะใหม่แล้วกลับ กลับกลายเป็นว่าร่างกายใหม่ไม่ใช่สิ่งที่คนไข้ปรารถนาอย่างแท้จริง จึงมีรายงานคนไข้ฆ่าตัวตายหลังจากได้รับการผ่าตัดแปลงเพศไปแล้ว จำนวนหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นโศกนาฏกรรมทางการแพทย์อย่างแท้จริงและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นซ้ำอีกในโลกปัจจุบัน จึงมีการวางแนวทางที่เข้มงวดและเป็นมาตรฐานที่ทุกสถานที่ที่จะรับดูแลคนไข้กลุ่มนี้ต้องพึงสังวรณ์และยึดถือปฏิบัติให้ รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่ได้กำหนดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ. 2552 ออกมาและเป็นแนวทางที่แพทย์ที่รักษาคนไข้กลุ่มนี้ต้องปฏิบัติตาม (เอกสารอ้างอิง http://tmc.or.th/download/jul09-02.pdf) และเพื่อให้บทความเรื่องนี้กระชับขึ้นจึงขอเข้าเรื่องการรักษาคนไข้กลุ่ม GD จากหญิงเป็นชาย ตามหัวเรื่อง โดยสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1.การวินิจฉัย
2.การรักษาโดยไม่ผ่าตัด: การปรับสภาพแวดล้อม และทดลองใช้ชีวิต, การให้ฮอร์โมน
3.การรักษาโดยการผ่าตัด (แปลงเพศ) วิธีและขั้นตอนสำคัญต่างๆ
เรียบเรียงโดย นพ.สุกิจ วรธำรง
ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
"เป็น" - Google News
August 15, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/3h1Ih7y
คอลัมน์ผู้หญิง - การผ่าตัดแปลงเพศ หญิงเป็นชาย...จริงหรือเจ๊ง!! (ตอน 2) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"เป็น" - Google News
https://ift.tt/3eIAhHj
Home To Blog
No comments:
Post a Comment