Pages

Friday, August 21, 2020

โฮโลแกรมแสดงหัวใจคนไข้เป็นภาพสามมิติช่วยให้หมอผ่าตัดแม่นยำขึ้น - บีบีซีไทย

santalimadua.blogspot.com

โปรดเปิดการใช้งาน JavaScript หรือบราวเซอร์ต่างออกไป เพื่ดูเนื้อหานี้

พญ.เจนนิเฟอร์ และ จอน ซิลวา คู่สามีภรรยาที่ทำงานที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองเซนต์หลุยส์ ในสหรัฐฯ ได้พัฒนาโฮโลแกรมที่สร้างภาพสามมิติหัวใจของคนไข้ระหว่างที่อยู่ในห้องผ่าตัด ข้อมูลที่แพทย์ได้รับ ณ ขณะผ่าตัดและการได้เห็นอุปกรณ์ที่อยู่ข้างในหัวใจ ช่วยทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำขึ้นในการผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อนมากอย่าง การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

"ฉันยังมองเห็นคนไข้ ฉันยังมองเห็นวิสัญญีแพทย์แต่ตอนนี้ฉันใส่ภาพโฮโลแกรมเหล่านี้เข้ามาได้ด้วย" พญ.เจนนิเฟอร์ ซิลวา จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองเซนต์หลุยส์ กล่าว

เจนนิเฟอร์ ซิลวา ผ่าตัดรักษาเด็กที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนจอน สามีของเธอ ซึ่งเป็นวิศวกร และเพื่อนร่วมงานของเขาช่วยกันพัฒนาโฮโลแกรมเสมือนจริงเพื่อใช้ในห้องผ่าตัด

ดร.จอน ซิลวา ซึ่งทำงานที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เช่นเดียวกับ เจนนิเฟอร์ กล่าวว่า "เราอธิบายให้เธอเข้าใจว่าการเดินทางของสัญญาณไฟฟ้าบนพื้นผิวของหัวใจนั้นต้องผ่านเส้นทางไหนบ้างเพื่อที่เธอจะได้รักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้อย่างตรงจุด"

โฮโลแกรมจะแปลงข้อมูลในขณะนั้นให้ปรากฏเป็นภาพออกมาอยู่ตรงหน้าแพทย์ในห้องผ่าตัด

"เราให้ข้อมูล ณ ขณะนั้น เพื่อให้เธอรู้ว่า เครื่องมือที่เธอสอดเข้าไปอยู่จุดไหนของหัวใจ และแผนที่แสดงจุดที่สัญญาณไฟฟ้าเดินทางผ่านกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อเธอลงมือผ่า หรือทำลายเนื้อเยื่อที่ทำให้คนไข้มีอาการดังกล่าว"

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า "เราทำได้โดยการเชื่อมต่อเข้ากับระบบที่ชื่อว่า ระบบทำแผนที่นำทางเชิงกายวิภาคจากข้อมูลไฟฟ้าซึ่งเป็นที่รู้จักมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ทุกคนเคยได้เห็นเพียงข้อมูลบนจอแสดงผลสองมิติ ไม่ได้เห็นข้อมูลสามมิติที่ปรากฏตรงหน้าที่สามารถควบคุมได้ จับหมุนซ้าย ขวา ขึ้น ลง หรือแม้แต่จะจับหันไปอีกมุมเพื่อให้เห็นอีกด้าน ก็ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ"

ส่วนเจนนิเฟอร์ กล่าวว่า "ที่เจ๋งกว่านั้นคือ คุณสามารถสร้างแบบจำลองให้ใหญ่เป็นพิเศษและคุณสามารถเข้าไปยืนอยู่ข้างในโฮโลแกรมแล้วมองไปรอบ ๆ ได้ด้วย มันเป็นโฮโลแกรมแรก ตอนที่ฉันทำ"

นี่คือหนึ่งในอุปกรณ์เสมือนจริงหลายชิ้นที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานผ่าตัดหัวใจ

พวกเขาหวังว่า ซอฟต์แวร์นี้ จะช่วยให้แพทย์รักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ปลอดภัยและแม่นยำขึ้น

"เรามีแพทย์ผ่าตัดโดยใช้โฮโลเลนส์และใช้แผนที่สองมิติมาแล้ว เราประหลาดใจมากที่ได้เห็นว่า การผ่าตัดโดยได้เห็นภาพสามมิติมีความแม่นยำมากกว่า มันไม่ใช่แค่ลูกเล่น หรืออะไรที่เจ๋ง แต่มันช่วยทำให้แพทย์ทำการรักษาได้แม่นยำขึ้นตามที่ต้องการจริง ๆ" จอน กล่าว

Let's block ads! (Why?)



"เป็น" - Google News
August 22, 2020 at 11:31AM
https://ift.tt/3aMkTbQ

โฮโลแกรมแสดงหัวใจคนไข้เป็นภาพสามมิติช่วยให้หมอผ่าตัดแม่นยำขึ้น - บีบีซีไทย
"เป็น" - Google News
https://ift.tt/3eIAhHj
Home To Blog

No comments:

Post a Comment