Pages

Wednesday, August 12, 2020

อุดช่องโหว่ 'ยื่นขอความเป็นธรรม' - ฐานเศรษฐกิจ

santalimadua.blogspot.com

คอลัมน์ อินไซด์สนามข่าว โดย จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,600 หน้า 10 วันที่ 13 - 15 สิงหาคม 2563

ผลการตรวจสอบ “คำสั่งไม่ฟ้อง” คดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ “บอส อยู่วิทยา” ของคณะทำงานสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงใหญ่หลังจากใช้เวลา 1 สัปดาห์ ตรวจสอบคดี เดินหน้ารื้อคดี ยาเสพติดจากการพบสารโคเคนในร่างกาย และคดีขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ที่ตกลงว่าขับไม่เกิน 80 หรือ กว่า 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมงกันแน่ 

ผมเองก็ไปทำข่าวการแถลงข่าววันนั้นในห้องประชุมนาน 1 ชั่วโมง 30 นาที มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ปัญหาของการ “ยื่นขอความเป็นธรรม” ที่นายบอส อยู่วิทยา และทีมทนาย ใช้ช่องทางนี้ในการซื้อเวลา โดยที่นายบอสไม่มาปรากฏตัวตามนัดของอัยการเลยแม้แต่ครั้งเดียว  

กลายเป็นอีกปมที่อัยการสูงสุดถูกถามมากในการแถลงว่าจะแก้ปัญหาการยื่นร้องขอความเป็นธรรมที่ไม่รู้จบไม่รู้สิ้นนี้ยังไง 

นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา ในฐานะคณะทำงานชุดนี้ใช้จังหวะนี้สะท้อนปัญหาที่เดาว่าคงเป็นเรื่องหนักอกกับ “การร้องขอความเป็นธรรม” โดยนายชาญชัยถึงกับใช้คำว่า “เรื่องนี้เสียเวลากันมากจากการร้องขอความเป็นธรรม”

จากนั้นก็ร่ายอธิบายต่อไปว่า เดิมทีเป็นเรื่องที่สำนักงานอัยการสูงสุด เห็นว่ากระบวนการยื่นขอความเป็นธรรมของการให้สิทธิ์ผู้ต้องหาได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ที่ผ่านมากระบวนการนี้ก็ให้ความเป็นธรรมได้อยู่บ้างเหมือนกัน

กระบวนการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดตั้งใจว่าถ้าผู้ต้องหาหรือแม้กระทั่งผู้เสียหายเห็นว่ากระบวนการมีความไม่เป็นธรรมเหมือนที่รู้สึก สามารถนำเรื่องนั้นมาให้พนักงานอัยการมาสอบสวนในประเด็นเหล่านั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหา

วิชา มหาคุณ

แต่หลายเรื่องเป็นปัญหาเสียเอง สำนักงานอัยการสูงสุดไม่สามารถควบคุมการร้องขอความเป็นธรรมให้ยุติ หรือมีกรอบเวลาในการดำเนินการได้ ด้วยเหตุผลเดียวคือ “ความเป็นธรรม” ทำให้สำนักงานอัยการสูงสุดต้องไปถอดบทเรียนว่าเราอาจจะต้องไปปรับเปลี่ยนกระบวนการร้องขอความเป็นธรรมกันใหม่  อาจจะต้องกำหนดให้ร้องขอความเป็นธรรมได้เพียงครั้งเดียว ต้องมาพบกับพนักงานอัยการทุกครั้ง  


กรณีนี้ถ้าเรามองในด้านดี หลายๆ เรื่องที่พบปัญหา เรื่องนี้ไม่จะเกิดขึ้นจากอะไรก็จะได้แนวคิดเพื่อไปแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก 

ไม่ใช่แค่อัยการสูงสุดที่มองเห็นปัญหานี้ เพราะคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบอส อยู่วิทยา ที่มี นายวิชา มหาคุณ เป็นประธานฯ มีแนวโน้มที่ตรงกันกับอัยการ ในการอุดช่องโหว่นี้ ซึ่งเชื่อว่าสุดท้ายจะมีการทำข้อเสนอนี้ ส่งต่อไปให้กับยังรัฐบาลพิจารณาอย่างจริงจัง 

ก็ลองย้อนดูคดีของนายบอส นับตั้งแต่เกิดเหตุ 3 ก.ย. 2555 ต่อจากนั้นปี 2556 นายบอสเริ่มส่งทนายความยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมและเลื่อนพบอัยการ และต่อจากนั้น 4 พ.ค. 59 ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อ กมธ.กฎหมาย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

25 เม.ย.-30 มี.ค. 60 ได้เลื่อนขอพบอัยการรวม 7 ครั้ง 25 เม.ย. 60 นายบอสก็เดินทางออกนอกประเทศ 27 เม.ย. 60 อัยการนัดให้มาพบ 28 เม.ย. 60 ศาลอนุมัติหมายจับ และ 3 ก.ย. 60 คดีหมดอายุความอีก 1 ข้อหา คือ ข้อหาขับรถชนแล้วไม่ช่วยเหลือ และก่อนหน้านั้นอายุความหมดแล้ว 2 คดี คือ ขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด และ ขับรถโดยประมาททำให้บุคคล/ทรัพย์สินเสียหาย 

เห็นแบบนี้ หากปล่อยให้กระบวนการขอความเป็นธรรม มีรูรั่วเบ้อเริ่มอยู่แบบนี้ มีหวังต้องมานั่งปวดหัวกันอีกหลายคดี ที่อาจจะใช้มุขนี้ในการซื้อเวลา 


Let's block ads! (Why?)



"เป็น" - Google News
August 12, 2020 at 09:00AM
https://ift.tt/2DNzPue

อุดช่องโหว่ 'ยื่นขอความเป็นธรรม' - ฐานเศรษฐกิจ
"เป็น" - Google News
https://ift.tt/3eIAhHj
Home To Blog

No comments:

Post a Comment