3. ประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้ หรือ รวมหนี้ในครั้งนี้ คือ
- ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต
- ลดภาระหนี้ ทั้งดอกเบี้ย และค่างวด
- ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เป็นต้น
- สามารถใช้วงเงินบัตรเครดิต หรือ สินเชื่อส่วนบุคคลที่เหลือได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
ตัวอย่างการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้
สมมติว่า หมูหยก เป็นคนมีหนี้ ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ และบัตรเครดิต ของธนาคารสีเขียว ดังนี้
หนี้บ้าน 2,000,000 บาท ดอกเบี้ย 4.50% ต่อปี ระยะเวลาที่ต้องส่ง 240 งวด ส่งมาแล้ว 180 งวด เหลือระยะเวลาผ่อน 60 งวด โดยหมูหยกต้องจ่ายหนี้บ้านทุกเดือน 12,653 บาท
หนี้บัตร 400,000 บาท ดอกเบี้ย 25% ต่อปี ระยะเวลาที่ต้องส่ง 48 งวด ส่งมาแล้ว 24 งวด เหลือระยะเวลาผ่อน 24 งวด โดยหมูหยกต้องจ่ายหนี้ตรงนี้เดือนละ 13,263 บาท
ต่อมา หมูหยกเริ่มผ่อนไม่ไหว เพราะโดนลดเงินเดือน และมีแนวโน้มว่าจะตกงานในอนาคต หมูหยกจึงได้ขอเข้าร่วมโครงการรวมหนี้ ซึ่งธนาคารสีเขียวก็ใจดีอนุมัติให้โดยเสนอ 2 แพ็กเกจให้เลือกดังนี้
1. ยืดระยะเวลาสินเชื่ออื่นๆ ให้เท่ากับสินเชื่อบ้านที่เหลือ
- หมูหยกเหลือระยะเวลาส่งบ้าน 60 งวด จึงขอขยายหนี้บัตรจากเดิมที่ต้องส่ง 24 งวด เป็น 60 งวด ซึ่งตรงนี้จะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 25% ต่อปี เป็น MRR หรือ 6.8% ต่อปี
หมูหยกจะต้องจ่ายหนี้กับธนาคารสีเขียวแค่ 17,546 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เคยจ่ายอยู่ 25,916 บาทต่อเดือน โดยแบ่งเป็นหนี้บ้าน 12,653 บาท หนี้บัตร 4,893 บาท
2. ยืดระยะเวลาสินเชื่อรายย่อยอื่นออกไป แต่สั้นกว่าบ้านที่เหลือ
- หมูหยกเหลือระยะเวลาส่งบ้าน 60 งวด ขอขยายหนี้บัตรจากเดิมที่ต้องส่ง 24 งวด เป็น 36 งวด จึงปรับลดดอกเบี้ยจาก 25% ต่อปี เป็น MRR หรือ 6.8% ต่อปี
หมูหยกจะต้องจ่ายหนี้กับธนาคารสีเขียวแค่ 20,299 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เคยจ่ายอยู่ 25,916 บาทต่อเดือน โดยแบ่งเป็นหนี้บ้าน 12,653 บาท หนี้บัตร 7,646 บาท
ลดภาระหนี้ไม่เสียประวัติเครดิตบูโร
ธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระการชำระหนี้โดยที่ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใดโดยไม่จำเป็น เช่น กำหนดให้ลูกหนี้ทำประกันเพิ่ม เว้นจะเป็นความสมัครใจของลูกหนี้
ขณะเดียวกัน แม้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ลูกหนี้ควรจะยังสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีลักษณะหมุนเวียนที่ยังเหลือได้ ในอัตราที่ไม่น้อยกว่า 10% ของวงเงินเดิม เพื่อให้มีวงเงินสำหรับกรณีฉุกเฉินได้
รวมทั้งไม่ต้องจ่ายเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด (prepayment fee) ลูกหนี้ที่ต้องการรวมหนี้ดังกล่าว สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ และแสดงข้อมูลว่าได้รับผลกระทบต่อผู้ให้บริการทางการเงิน หรือ ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.63 - 31 ธ.ค. 64
"เป็น" - Google News
September 07, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2DzVgiq
สรุปมาตรการรวมหนี้ ใช้สินเชื่อบ้านเป็นหลักประกัน ลดภาระผ่อน ดอกเบี้ยถูกลง - ไทยรัฐ
"เป็น" - Google News
https://ift.tt/3eIAhHj
Home To Blog
No comments:
Post a Comment