Pages

Sunday, September 6, 2020

รู้จักโรค ALS และไทรอยด์เป็นพิษ หลังคร่าชีวิต "แม่ทุม" แนะวิธีเช็กอาการป่วย - ไทยรัฐ

santalimadua.blogspot.com

7. ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอโตขึ้น

8. ถ่ายอุจจาระบ่อย

9. ขาสองข้างอ่อนแรง (ไม่พบบ่อย)

ขณะที่ โรคไทรอยด์ ยังเกี่ยวข้องกับอาหารการกิน โดยอาหารที่ช่วยบำรุงมี 7 กลุ่ม ดังนี้

1. ไอโอดีน ในปลา, หอยกาบ, กุ้ง, หอยนางรม, ไข่ และกระเทียม
2. วิตามีนบี ในไข่แดง, เครื่องในสัตว์, ปลา, ธัญพืชต่างๆ, ถั่วลันเตา, นม, เห็ด และเมล็ดอัลมอนด์
3. ธาตุซีลีเนียม ในปลาทูน่า, เห็ด, เครื่องในสัตว์ และถั่วเหลือง
4. สังกะสี ในเมล็ดทานตะวัน, เนื้อแกะ, ถั่วพีแคน, ธัญพืชต่างๆ, หอยนางรม และปลาซาร์ดีน
5. ทองแดง ในถั่วเหลือง, เห็ดชิตาเกะ, ข้าวบาร์เลย์, มะเขือเทศ, และดาร์กช็อกโกแลต
6. สารต้านอนุมูลอิสระ ในแคร์รอต, ผักโขม, ถั่วเหลือง, มันเทศ, ฟักทอง, แคนตาลูป, ปลา และตับ
7. ธาตุเหล็ก ในหอยนางรม, หอยกาบ, ผักโขม, ถั่วเลนทิล, ถั่วเหลือง, ถั่วขาว และเครื่องในสัตว์

สำหรับโรค ALS หรือ Amyotrophic lateral sclerosis แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา เผยว่า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ประสาท เกี่ยวกับควบคุมการเคลื่อนไหวตายไปก่อนอายุขัย อาการของคนไข้ คือ มีอาการกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง แขน ขา ลิ้น คอ แต่สติสัมปชัญญะจะดี สมองไม่เสื่อม

แต่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการไม่มีแรง เช่น เมื่อมีอาการที่ขา ขาจะลีบ เป็นที่มือ มีอาการมือลีบ เป็นที่ปากจะมีลิ้นลีบ พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก สำลักได้ หากเป็นมากรุนแรงคือ เป็นทั้งตัว ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ กินอาหารเองไม่ได้ ต้องใส่สายให้อาหารหรือทางจมูก เจาะหน้าท้องให้อาหาร ซึ่งโรคนี้พบได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองที่บ้าน เป็นโรคเรื้อรัง จะมานอนโรงพยาบาลเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน ติดเชื้อ หรืออ่อนแรงมาก อาจเกิดแผลกดทับ หรือไปจนถึงรับประทานอาหารเองไม่ได้ ต้องใส่สายให้อาหาร เป็นการรักษาสภาวะแทรกซ้อน ส่วนในรายที่เป็นมากหายใจเองไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจก็มารักษาที่โรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำเบื้องต้นในการสังเกต หากสงสัยว่าจะเป็น ALS คือ สังเกตอาการ หากมีอาการแขนขาไม่มีแรง มีอาการลีบแต่จะไม่มีอาการชา แต่แขนขาจะลีบค่อนข้างเร็ว และสังเกตกล้ามเนื้อบริเวณที่ลีบ เนื้อจะเต้นเป็นพลิ้วให้สังเกตโรคนี้ได้ บ่งบอกเบื้องต้นว่าเป็นโรคในกลุ่มนี้ การวินิจฉัยต้องมีการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้า ประสาทและกล้ามเนื้อ.

(ขอบคุณ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์, แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา)

Let's block ads! (Why?)



"เป็น" - Google News
September 07, 2020 at 09:09AM
https://ift.tt/2DA67Jc

รู้จักโรค ALS และไทรอยด์เป็นพิษ หลังคร่าชีวิต "แม่ทุม" แนะวิธีเช็กอาการป่วย - ไทยรัฐ
"เป็น" - Google News
https://ift.tt/3eIAhHj
Home To Blog

No comments:

Post a Comment